วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางสังคม

สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม อ่านเพิ่มเติมอ่านเพิ่มเติม

พลเมืองดี

     พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น อ่านเพิ่มเติม

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ  อ่านเพิ่มเติม

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้[1] กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใดๆ"[2] อ่านเพิ่มเติม

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อังกฤษinternational relations)หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติม